ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 

 

โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดป้องกันได้
โดย นพ.อนวัช เสริมสวรรค์ นายแพทย์ 8วช
ภาควิชาอายุรศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

 

         ปัจจุบันคนเรามีอายุยืนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณยายยังเด็กอยู่ก็คงสังเกตว่าคนที่มีอายุ 75 ปี อย่างคุณยาย มีน้ำหนักไม่มากนัก แต่คุณยายก็พบว่าเดี๋ยวนี้เพื่อน ๆ ของคุณยายก็มีชีวิตอยู่ค่อนข้างแข็งแรงอยู่หลายคน เป็นที่น่าสนใจว่าเด็ก 6 ขวบ ในปัจจุบันจะมีชีวิตยืนยาวกว่าพ่อแม่ซึ่งอายุ 45 ปี ในขณะนี้ถึง 75 ปี แต่ก็ยังดีที่พ่อแม่ของเขาจะยังมีอายุยืนกว่าคุณยายอยู่ถึง 5 ปี อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น? ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ลดการตายของเด็กในชวบปีแรก มีส่วนสำคัญต่อคำตอบนี้ประมาณร้อยละ 19 การตรวจรักษามะเร็งดีขึ้น เป็นสิ่งสำคัญเพียงร้อยละ 3 แต่ผลกระทบสำคัญสุดคือการป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีความสำคัญร้อยละ 70 จึงไม่ผิดนักที่จะพูดว่าใครก็ตามที่อายุเกิน 1 ขวบ จะต้องใส่ใจอย่างที่สุดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะนั่นจะทำให้เขามีชีวิตที่ยืนยาว แล้วเราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร

หัวใจ

         เราทราบดีว่าคนบางคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากกว่าบางคน ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นอายุ เพศ กรรมพันธุ์ แต่หลายอย่างก็เปลี่ยนแปลงได้เช่น
         ความดันโลหิตสูงเกินกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท สามารถควบคุมป้องกันได้โดยการลดอาหารเค็มหรือรสจัด ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ 3 - 5 ครั้ง/สัปดาห์ ควบคุมน้ำหนักและระดับเอวระดับสะดือไม่เกิน 80 ซม. ในหญิง และ 90 ซม. ในชาย ไม่ควรดื่มของมึนเมาและไม่สูบบุหรี่ หากยังควบคุมไม่ได้ต่ำกว่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกินยาลดความดันโลหิต
         เบาหวาน พบมากในคนที่มีกรรพันธุ์ อ้วน ไม่ออกกำลังกาย ฉะนั้นผู้มีความเสี่ยงควรหมั่นตรวจเลือดดูระดับน้ำตาลทุก 1 - 3 ปี และผู้ที่มีระดับน้ำตาลกลังงดอาหารเช้าสูงกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายเสี่ยงและต้องควบคุมอาหารโดยไม่กินหวาน หรือปรุงรสโดยใช้น้ำตาลเทียม คุมน้ำหนัก ออกกำลัง และไม่ดื่มสุราเช่นเดียวกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

        ไขมันในเลือดสูง หลายคนเข้าใจ่าพบแต่ในคนอ้วน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากไขมันเลือดไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับไขมันในพุงเลย ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สำคัญได้แก่ โคเลสเตอรอล (Cholesterol) ค่าที่ถือว่าผิดปกติคือ สูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งวัดชณะอดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง และหากจะให้ละเอียดยิ่งขึ้นควร ประเมินไขมันที่ไม่ดี คือ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันที่นำโคเลสเตอรอลไปสะสมหรือพอกในผนังหลอดเลือดทำให้รูหลอดเลือดตีบตัน ค่าผิดปกติคือ สูงกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ระดับไขมันที่ถือว่าผิดปกติในแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ควรควบคุมระดับไขมัน LDL ให้ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้น การควบคุมไขมันโคเลสเตอรอลให้ต่ำ ทำให้การควบคุมอาหาร ได้แก่ อาหารที่มาจากสัตว์ คือเนื้อ นม ไข่ ฉะนั้นวิธีควบคุมอาหารที่เหมาะสมคือกินตอาหารมังสะวิรัติ หรืออาหารเจ อีกประการหนึ่งค่อใช้น้ำมันปรุงอาหาร น้ำมันพืชทุกชนิดไม่มีโคเลสเตอรอลก็จริง แต่ไขมันชนิดกลีเซอไรต์จากพืชบางชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์ม มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูงอยู่มากซึ่งมีผลรบบกวนการนำไขมันโคเลสเตอรอล กลับสู่ตับ จึงมีผลโดยอ้อมให้โคเลสเตอรอลพอกในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นได้ จึงแนะนำให้ใช้น้ำมันถ่วเหลืองหรือจากรำข้าวในการปรุงอาหา

        ภาวะไขมันที่ดีต่ำ ได้แก่ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งจะมีหน้าที่นำไขมันจากหลอดเลือดมาปล่อยทิ้งไว้ที่ตับ ซึ่งจะขับโคเลสเตอรอลออกทางน้ำดีอีกทางหนึ่ง หากมีปริมาณต่ำก็จะทำให้การกำจัดไขมันจากหลอดเลือดทำได้ช้า ไม่เพียงพอ มีหลักฐานการศึกษา ในประเทศไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและรามาธิบดี พบว่า ปัญหาไขมัน DHL ต่ำเป็นปัญหาสำคัญกว่าภาวะโคเลศเตอรอลสูงอีก การทำให้ระดับ HDL เพิ่มขึ้นได้โดยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ การดิ่มแอลกอฮอล์ปริมาณเล็กน้อย เช่น เบียร์วันละกระป๋อง ไวน์วันละแก้ว ช่วยให้ไขมัน HDL เพิ่มได้แต่ก็มีข้อเสียต่อการเพิ่มความดันโลหิต และควรระวังในผู้ป่วยโรคตับ

        การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดแข็งและอุดตันได้ง่าย ปริมาณการสูบมากกว่า 10 มวน/วัน เป็นที่ยอมรับว่าทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งหลอดเลือดตีบตัน และมะเร็ง การหยุดสูบบุหรี่ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลง แต่อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ฉะนั้นคำแนะนำคือ การหยุดสูบบุหรี่แทนที่จะสูบให้น้อยลง

         ความผิดปกติหลายอย่างที่กล่าวมา พบได้แม่ในผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ ดังนั้นเพื่อให้ทราบความเสี่ยงของท่าน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียแต่เนิ่น ๆ ควรตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และปรึกษาแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ ก็จะทำให้ชีวิตยืนยาว ปราศจากโรคแทรกซ้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th